การลงทุนในยุคเปลี่ยนผ่าน
ช่วงสิ้นปี
2562 ต่อต้นปี 2563 เป็นปกติที่ข้าพเจ้าจะเขียนเรื่องมองไปข้างหน้าเพื่อการลงทุน
และก็เป็นปกติที่ข้าพเจ้าจะไม่เคยทำนายดัชนีหุ้นไทย โดยสารภาพเลยว่า ด้อยความสามารถ
ขืนทำนายไปก็ขี้เกียจมาแก้ตัวภายหลัง
เนื่องจากมิได้โฟกัสไปที่การลงทุนเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น จึงต้องมอง Megatrends เป็นหลักใหญ่ไว้ก่อน เพื่อให้เรามองเห็นภาพข้างหน้าในระยยาวๆ 5 ปีขึ้นไป
Megatrends
- สังคมทั่วโลก เกิดน้อย แก่นาน
- เทคโนโลยีใหม่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต การจ้างงาน
และการดำเนินชีวิต
- กระแสเรียกร้องด้านความยั่งยืน
- Urbanization
- กระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์ ทุนนิยม
และนโยบายตัวใครตัวมัน
เมื่อพิจารณา Megatrends แล้ว ก็จะพอได้ภาพว่า Sector ไหนจะได้ประโยชน์ Sector
ไหนจะเสียประโยชน์ถ้าปรับเปลี่ยนไม่ทัน ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึง เพราะมีหลายท่านวิเคราะห์เอาไว้แล้ว
แต่อยากโฟกัสภาพรวมในระยะสั้น 1-2 ปีข้างหน้า
Short-Term
Negative Factors (1-2 ปี)
- สงครามการค้า สหรัฐฯ จีน
- เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงไปเรื่อยๆ ทั้งจากเทคโนโลยีใหม่ที่แม้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง + และ - แต่การ “เกิดน้อย แก่นาน” ก็ทำให้กำลังแรงงานลดลง คนแก่บริโภคน้อยลงและไม่ค่อยสร้างผลผลิตใหม่ ในขณะที่คนหนุ่มสาวยังมีหนี้สูง ทำให้ส่งผลต่อกำลังซื้อและการบริโภค
- ความกดดันจากตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ ปีนี้ ปีหน้า ที่ลดลงไปเรื่อยๆ
- นโยบายการเงินโลกจะคงดอกเบี้ยต่ำระยะยาว ดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถขึ้นได้ มีแต่จะลง เพราะ ...
- - เงินเฟ้อจะต่ำยาวนาน เนื่องจาก Demand ทั่วโลกตกต่ำ
- หนี้ทั่วโลกสูงขึ้น จะขึ้นดอกเบี้ยก็กระทบภาระทางการเงินของครัวเรือนและหนี้ภาครัฐ
- ตลาดการเงินโลกเสพติดสภาพคล่องไปแล้ว
เมื่อทางการประเทศไหนๆ ทำท่าจะถอนสภาพคล่อง ตลาดการเงินจะปั่นป่วน ทำให้ธนาคารกลางที่ถูกกดดันโดยรัฐบาลจะไม่กล้าถอนสภาพคล่อง
- เมื่อนโยบายการเงินหมดกระสุนก็ต้องพึ่งนโยบายการคลังมากขึ้น
โดย ...
- รัฐจะใช้จ่ายมากขึ้น
จะเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี เกิดขึ้น
ทำให้หนี้สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แต่ผลตอบแทนพันธบัตรจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก เพราะคนยังต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาล
- นโยบาย Quick Win
อย่าง ชิม ช็อป ใช้ หรือรูปแบบอื่นจะเกิดขึ้นอีก เพื่อใช้หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ
- คาดว่าผลที่ตามมาจากสองเรื่องนี้คือ “ภาษี”
จะเพิ่มขึ้น
Short-Term
Positive Factors (1-2 ปี)
- สภาพคล่องยังล้นโลก
- ธนาคารกลางต่างๆ
ยังมีทีท่าที่จะอุ้มเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและ Abnormal ด้วยอัตราดอกเบี่ยต่ำและติดลบ ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องแบบ QE หรือภายใต้ชื่ออื่น
- เมื่อดอกเบี้ยต่ำ สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น
จึงยังมีโอกาสได้รับอานิสงส์ แม้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะบอกว่าไม่ใช่
สรุปผลสำหรับปี
2563
ภาวะอย่างนี้คือ เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ
ค้าขายกันน้อย สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาถูก กับผลตอบแทนการลงทุนต่ำและผันผวน เป็นผลมาหลายปัจจัยโดยเฉพาะ
“เกิดน้อย แก่นาน” ที่จะทำให้ทั้งความต้องการจับจ่ายใช้สอย
และกำลังแรงงาน กำลังซื้อ ลดลง
นี่คือ New Normal ที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน จนกลายเป็น Normal เพราะนโยบายการเงินทั่วโลกที่
Abnormal
ที่สำคัญคือ โลกจะเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งหรือไม่
จากนโยบายการเงินที่จะกลับมาอัดฉีดขนานใหญ่ จนนำไปสู่การเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง
นำมาซึ่งภาวะฟองสบู่แตก และทำให้ผู้คนทั่วโลกมองว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติในอีก
1-2 ปีข้างหน้า” กันมากขึ้นทุกที
- End
Cycle ?… Bear Market ?
- แล้วจะลงทุนอย่างไร
ข้อมูลจาก Tisco Research
- ตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะตลาดหมี
เพราะลดลงจากจุดสูงสุดไม่ถึง 20% จะเป็นหมีได้ดัชนีต้องลดลงต่ำกว่า 1,500 จุด
- โอกาสที่จะเกิดภาวะตลาดหมีตัวใหญ่ ต้องเกิดวิกฤติทั่วโลก
หรือเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)
- วัฏจักรตลาดกระทิงและหมีของสหรัฐฯ (S&P500) ในรอบ 70 ปี มี Bull 8 ครั้ง Bear 7 ครั้ง โดย Bull กินเวลาเฉลี่ยรอบละ 91 เดือน
ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 227% Bear กินเวลาเฉลี่ยรอบละ
16 เดือน ดัชนีลดลงเฉลี่ย 36%
- ระยะเวลาในขาลงน้อยกว่าขาขึ้นมาก
โดยรอบล่าสุดตลาดกระทิงกินเวลามาแล้ว 112 เดือน ขึ้นมา 270% มีการขึ้นมาในอดีตที่ใหญ่กว่านี้
2 ครั้งคือ หลังสงครามโลก และหลังเหตุการณ์ Black Monday
- วัฏจักรตลาดหุ้นไทยในรอบ 30 ปีเกิดถี่มาก Bull 12 ครั้ง Bear 11 ครั้ง โดย Bull ยาวนานเฉลี่ยรอบละ 23 เดือน ผลตอบแทนเฉลี่ย 114%
ส่วน Bear กินเวลาเฉลี่ยรอบละ 9 เดือน ลดลงเฉลี่ย 41% รอบล่าสุดเกิดนานแล้ว 53 เดือน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 25% โดยภาวะตลาดกระทิงของไทยลูกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
- สรุปคือ ตามสถิตินี้ ถ้าตลาดหุ้นจะเป็น End Cycle จนถึงขนาดเกิด Bear Market ก็จะไม่ยาวนาน
ผลสำรวจ UBS เรื่องมุมมองการลงทุนของกลุ่มมหาเศรษฐีทั่วโลก 56% ตอบว่าให้บาลานซ์พอร์ตการลงทุน
ไม่เน้นไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป
กลุ่มมหาเศรษฐีในเอเชียจะเน้นการรักษาเงินต้นเป็นหลักถึง
23%
ในขณะที่สหรัฐฯ จะเน้นพอร์ตการลงทุนที่เติบโตถึง 31%
- เงินสดหรือเทียบเท่า 8%
- ตราสารหนี้ประเทศพัฒนาแล้ว
12%…ตราสารหนี้ประเทศกำลังพัฒนา 4%
- หุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว 25%…หุ้นในประเทศกำลังพัฒนา 7%
- ลงทุนตรงในPrivate
Equity 11%...ผ่านกองทุน 8%
- อสังหาริมทรัพย์ 17%
- Hedge Fund 5%
- อื่นๆ 3%
ถ้าความเสี่ยงเริ่มเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มมหาเศรษฐีจะย้ายสินทรัพย์ไปยังที่ปลอดภัย เช่น ตราสารหนี้ เงินสด ฯลฯ
แต่จะนำเงินส่วนหนึ่งพักไว้ เผื่อได้สินทรัพย์ราคาดีในช่วงตลาดพัง
สรุปคำแนะนำ
โลกผ่านช่วงการเปลี่ยนผ่าน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม และวิกฤติเศรษฐกิจมาหลายครั้ง แต่บริษัทดีๆ ที่แข็งแกร่ง
ปรับตัวเป็น ก็ผ่านช่วงเหล่านั้นมาได้
การลงทุนหุ้นยาวๆ 5 ปี 10 ปี ขึ้นไป
และการลงทุนสม่ำเสมอ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยดีกว่าลงทุนสั้น โดยสถิติจากสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ไทย
ระบุว่า...
- ค่าเฉลี่ยในระยะยาว 5-10 ปี มักได้ผลตอบแทนสูง
- สถิติ 43 ปี ตลาดหุ้นไทย เฉลี่ยผลตอบแทนต่อปี 12% แบ่งเป็นเงินปันผลประมาณ 4%
- อัตราส่วนขึ้นลงรายปี ใน 43 ปี มี 17 ปี ที่ติดลบ, 26 ปี เป็นบวก (10 ปีล่าสุด ติดลบ 3 ปี เป็นบวก 7 ปี)
การกระจายลงทุนเป็นการลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาส ภาวะที่ผันผวนเลือกหุ้นที่มีรายได้สม่ำเสมอ หุ้นมีปันผล และเมื่อหุ้นลงควรปรับพอร์ตการลงทุนตัวเองอาจเพิ่มหุ้น แต่สิ่งที่ไม่ลืมคือกอดเงินสดไว้ในมือเสมอเพื่อรอคว้าโอกาสที่ไม่ทันตั้งตัว
ทุกการเคลื่อนไหวของหุ้นมีทั้ง
วิกฤตและโอกาสเสมอ ขึ้นอยู่กับแนวทางเลือกของตัวเองว่าจะเป็นแบบไหน
นอกจากนี้ การเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตกงาน ขาดรายได้
ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำ คือควรขยายเงินสำรองฉุกเฉินให้เพิ่มมากกว่าเดิม เช่น เคยกันเงินสำรองไว้ให้พอกับรายจ่าย
6 เดือน ก็พยายามเพิ่ม 1 เท่าให้เป็น 12 เดือน เป็นต้น
ที่สำคัญคือ
การมี Cash ไว้ส่วนหนึ่งสำคัญมากใภาวะข้างหน้า เพราะถ้ามีจังหวะซื้อเวลาหุ้นดีๆ
มีราคาตกต่ำลงมามากๆ หรือเวลามีอะไรมาช็อคตลาดจาก Sentiment ...
คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่มีเงินสดในมือ
และควรจะมีทองคำไว้บ้างในพอร์ตลงทุน