Exclusive Interview : พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
พรชัย ฐีระเวช
ผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ยันเศรษฐกิจไทยไม่ใช่ Stagflation
เดินหน้านโยบาย “เก่งนอก-แกร่งใน”
“เศรษฐกิจไทยยังไม่ปรากฏเงื่อนไขในการเกิด Stagflation เนื่องจากในระยะต่อไปคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะเดียวกันภาครัฐได้ออกมาตรการดูแลราคาน้ำมันและราคาสินค้าทำให้ราคาไม่สูงเกินไปส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก นอกจากนี้คาดว่าในระยะต่อไปราคาน้ำมันจะมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อน้อยลงตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และความตึงตัวด้านอุปทานน้ำมันที่มีแนวโน้มจะคลี่คลาย”
“แนวทางในการออกนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เป็นไปตามเป้าหมาย
คือ เศรษฐกิจไทยจะต้องเก่งนอกและแกร่งใน
โดยต้องขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งทั้งภายในประเทศและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้”
ปี 2565
ยังเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19
ขณะที่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายังได้รับผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้มีความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ
“Stagflation”
พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1
ต.ค. 64
ให้สัมภาษณ์พิเศษ การเงินธนาคาร ว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี
2565
ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าและยังเชื่อมั่นว่าในภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวต่อไปได้แม้ว่าจะเผชิญกับปัจจัยกดดันจากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนและการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน
“ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี
2565
ยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องจากปีก่อนและสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังคงเดินหน้าต่อไปได้
โดยภาครัฐพร้อมที่จะดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง”
ยืนยันภาวะเศรษฐกิจไทย
ไม่เข้าเงื่อนไข Stagflation
พรชัย กล่าวว่า สศค. อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565
อีกครั้งหลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบไปยังหลายประเทศทั่วโลก
รวมถึงประเทศไทย โดย สศค. จะประเมินผลกระทบและปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565
อย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565
ทั้งนี้ประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565
จะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ในช่วง 4.0%
ต่อปีสอดคล้องกับการคาดการณ์ขององค์กรระหว่างประเทศอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ที่
4.1%
และธนาคารโลก (World
Bank) ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เร่งขึ้นที่ 3.9%
โดยปัจจัยสนับสนุนของเศรษฐกิจไทยปี 2565 ได้แก่
1. การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดต่อเนื่องควบคู่ไปกับความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน
รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19
ที่เริ่มมีผลกระทบในวงจำกัด
2. การดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านระบบ Test & Go อีกครั้ง โดยอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยไม่ต้องเข้ารับการกักตัว
3. การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก
โดยการขยายตัวต่อเนื่องของกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก
เนื่องจากความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง
4. การดำเนินนโยบายของภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2565
ภาครัฐจะมีการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565
วงเงิน 3.1
ล้านล้านบาท และงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565
วงเงิน 3.07
แสนล้านบาท
รวมทั้ง พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน5
แสนล้านบาทในส่วนที่เหลือที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในทุกกลุ่มอย่างตรงจุด
พรชัย กล่าวว่า
ในส่วนของผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนต่อเศรษฐกิจไทยได้
สศค. ประเมินได้ดังนี้
1. ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงทั่วโลก
และเพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทย
2. เมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับเพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการของผู้ประกอบการในสาขาการผลิตต่างๆ
โดยเฉพาะสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น สาขาขนส่ง สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาไฟฟ้าและก๊าซ
เป็นต้น
3. กลุ่มแรงงานขอขึ้นค่าแรง
ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้แรงงานอาจจะขอขึ้นค่าแรงและจะเกิดแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก
4. ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและประเทศ
ต้นทุนที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก
พรชัย กล่าวว่า สำหรับความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation นั้นมองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าเงื่อนไขของการเกิด
Stagflation เนื่องจาก
Stagflation คือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวจนส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ซึ่งภาวะเช่นนี้เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน (Supply Shock) จากการที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการผลิตสินค้าลดลงส่
งผลให้ผลผลิตในระบบเศรษฐกิจลดลงอย่างรวดเร็ว และทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับประเทศไทยแม้ปัจจุบันจะได้รับปัจจัยกดดันจากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 5.28%
แต่การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวยังจำกัดอยู่ในหมวดพลังงานและอาหารเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ยังไม่เห็นการเพิ่มขึ้นของราคาในหลายสินค้าพร้อมกัน
รวมถึงยังไม่เห็นการปรับขึ้นราคาต่อเนื่องในวงกว้าง
โดยราคาสินค้าที่ปรับขึ้นต่อเนื่องสองเดือนติดต่อกันมีสัดส่วนเพียง 24%
ของสินค้าทั้งหมดทั้งนี้
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับทิศทางราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
และเศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถรองรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้
โดยล่าสุดเศรษฐกิจไทยในปี 2564
ขยายตัวที่ 1.6%
ต่อปี กลับมาขยายตัวเป็นบวกหลังจากที่หดตัว -6.2% ในปี 2563
ในส่วนของการว่างงานอัตราการว่างงานของไทยมีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยล่าสุดอัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี
2564
อยู่ที่ 1.6%
ปรับตัวดีขึ้นจาก 2.3%
ในไตรมาส 3
และ 1.9%
ในไตรมาส 2
และ 2%
ในไตรมาส 1
ตามลำดับ
“เศรษฐกิจไทยยังไม่ปรากฏเงื่อนไขในการเกิด
Stagflation เนื่องจากในระยะต่อไปคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะค่อยๆ
ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ขณะเดียวกันภาครัฐได้ออกมาตรการดูแลราคาน้ำมันและราคาสินค้าทำให้ราคาไม่สูงเกินไปส่
งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก
นอกจากนี้คาดว่าในระยะต่อไปราคาน้ำมันจะมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อน้อยลงตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
และความตึงตัวด้านอุปทานน้ำมันที่มีแนวโน้มจะคลี่คลาย”
เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้
ต้อง “เก่งนอก-แกร่งใน”
พรชัย กล่าวว่า การออกนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เป็นไปตามเป้าหมาย
คือ ต้องขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งทั้งภายในประเทศ
และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ หรือต้องทั้งเก่งนอกและแกร่งใน
โดย “เก่งนอก” คือ
ต้องสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ
นอกจากนี้จะต้องมีความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภายนอกประเทศ
เช่น จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลต่อราคาพลังงานภายในประเทศ
ซึ่งภาครัฐก็มีความพร้อมที่จะดำเนินนโยบายที่เหมาะสมและช่วยเหลือประชาชนได้ตรงจุด
เป็นต้น
ส่วน “แกร่งใน” คือ
ต้องทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตั้งแต่ภาคส่วนเศรษฐกิจที่เล็กที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย
ธุรกิจ SMEs Start-up ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบกิจการขนาดใหญ่
โดยภาครัฐมีบทบาทในการสนับสนุน เช่น
การสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาฟื้นตัว
การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน
การรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวในประเทศ
เป็นต้น
นอกจากนี้ จะต้องขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและการส่งเสริมการลงทุนใน EEC
ในส่วนของภาครัฐ จะต้องรักษาเสถียรภาพและสร้างความยั่งยืนทางการคลัง โดยภาคการคลังที่มีเสถียรภาพ จะทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมั่นใจในเสถียรภาพของประเทศ รวมถึงยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และความน่าเชื่อถือด้านการคลังของประเทศในเวทีโลกอีกด้วย
11 แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเก่งนอกและแกร่งในและสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย สศค. มี 11 แนวทางขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่
1. การติดตามผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
รวมถึงพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
เพื่อหาช่องทางและรูปแบบในการช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะแรงงาน
ลูกจ้าง และประชาชนผู้มีรายได้น้อย
2. การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด
เช่นการเร่งกระจายวัคซีนให้เพียงพอและครอบคลุมทั่วถึงการดูแลควบคุมกิจกรรมเสี่ยงการเตรียมความพร้อมของการระบาดระลอกใหม่เป็นต้น
3. การสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาฟื้นตัว
เช่น การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้การเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจเป็นต้น
4. การรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวในประเทศผ่านมาตรการสนับสนุนต่าง
ๆ ของภาครัฐ โดยจะมีการปรับปรุงรูปแบบมาตรการที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
5. การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน
โดยการให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
6. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน
ควบคู่ไปกับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ และการสนับสนุนการค้าชายแดน
7. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนโดยการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง
โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC)
8. การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ
ทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน
9. การส่งเสริม SMEs และ Start-up ทั้งในส่วนของการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
10. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจตาม BCG Modelโดยกระทรวงการคลังได้สนับสนุนมาตรการส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า
(EV) และการออก
Sustainability Bond เพื่อนำเม็ดเงินที่ระดมทุนได้ไปใช้ในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือเพื่อการพัฒนาสังคม
11. การส่งเสริม Digital Government ในการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยกระทรวงการคลังได้พัฒนาต่อยอดระบบงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเก็บภาษี รวมทั้งการให้บริการด้านต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส และประหยัดเงินงบประมาณ เป็นต้น
รวมช่องทางการสั่งซื้อวารสารการเงินธนาคาร ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับย้อนหลัง ครบจบที่นี้ที่เดียว : https://bit.ly/3bQdHgt